การสร้างความมั่งคั่ง

ขอบคุณ วีดีโอ ความรู้การลงทุนของ TSI

     จุดเริ่มต้นของการสร้างความมั่งคั่งคือ ต้องมีรายได้ก่อน เพื่อนำรายได้นั้นมาบริหารต่อในขั้นตอนต่อไป

     หลังจากการมีรายได้แล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ การควบคุมค่าใช้จ่าย ซึ่งมีแนวทางง่ายๆดังนี้


หลักการควบคุมค่าใช้จ่าย

1. ใช้ข้อมูลในอดีต เพื่อตั้งงบประมาณค่าใช้จ่ายประจำเดือนหลังหักเงินออมออกไปแล้ว
2. เปรียบเทียบก่อนซื้อ ดูราคาที่ต่ำกว่าในระดับคุณภาพใกล้เคียงกัน
3. สรุปค่าใช้จ่ายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สามารถทราบสถานะและปรับตัวได้ทัน
4. ควบคุมการใช้จ่ายให้น้อยกว่ารายได้เสมอ ตามงบประมาณที่ตั้งไว้
5. ไม่ใช้ก็ไม่ควรต้องซื้อ เพราะเห็นแก่ของลดราคาและทำให้เป็นภาระในการจัดเก็บอีกด้วย


ตัวอย่างการทำให้มีเงินออม(เพิ่มขึ้น)

รายได้
ค่าใช้จ่ายจำเป็น
ค่าใช้จ่ายส่วนเกิน
20,000 บาท/เดือน 
รายได้เริ่มต้น สำหรับคนทำงาน มาได้ซักระยะหนึ่งแล้ว ยังไม่รวมรายได้พิเศษอื่นๆ 

15,000 บาท/เดือน 
ปัจจัยสี่ ค่าอุปโภสาธารณูปโภค
 และ อื่นๆ เฉลี่ยวันละ 500 บาท
รวม 30 วัน/เดือน


3,800 บาท/เดือน 
กาแฟสด 40 บ.*20 วัน
น้ำอัดลม 30 บ.* 20 วัน
อาหารมื้อหรู 1,200 บ. * 2 ครั้ง



เงินออม 1
ทางเลือก
เงินออม 2
1,200 บาท/เดือน 
รายได้ - ค่าใช้จ่ายจำเป็น
- ค่าใช้จ่ายส่วนเกิน
*เป็นชีวิตของคนส่วนใหญ่
3,800 บาท/เดือน 
 แปลง ค่าใช้จ่ายส่วนเกิน
   เป็น  เงินออม


5,000 บาท/เดือน 
เงินออม1 + ค่าใช้จ่ายส่วนเกิน *แปลง ค่าใช้จ่ายส่วนเกิน
    เป็น  เงินออม



ตัวอย่าง การวางแผนจัดสรรรายได้ในปัจจุบันส่วนหนึ่งมาจัดเก็บไว้
             ในระยะยาว เพื่อให้มี เงินออม3 ไว้ใช้จ่ายในอนาคต ซึ่งจัด
             ว่าเป็นการสร้างความมั่งคั่งเช่นกัน  ได้แก่ 
             1. การวางแผนเงินกองทุนเกษียณอายุ 
             2. การวางแผนเงินกองทุนการศึกษา 

ตัวอย่าง การบริหารค่าใช้จ่าย เพื่อให้เกิดการประหยัดทางด้านภาษี
             หรือมีเงินคืนกลับมาเป็น เงินออม4 ซึ่งจัดว่าเป็นการสร้าง
             ความมั่งคั่งเช่นกัน ได้แก่ 
             การวางแผนทางด้านภาษี เป็นต้น 

ถ้าไม่มี เงินออม ก็ไม่มี ทุนเริ่มต้น เพื่อนำไปต่อยอดความมั่งคั่งได้ 


ขั้นต่อไปคือปกป้องความมั่งคั่ง คลิกที่นี่